เซลล์ขายรถยนต์หรูร้องขอความเป็นธรรมโดนปลอมแปลงเอกสาร ถูกจับดำเนินคดีอาญาข้อหาเลี่ยงการจ่ายภาษีสรรพากร

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 11.00 น. ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการประชาสัมพันธ์ และรองเลขาธิการ นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ดร.ชัยชีพ ชโลปถัมภ์ กรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย และนายฉัตรประพล แย้มเพริศศรี กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 1 ร่วมแถลง กรณีเซลล์ขายรถยนต์หรู ขอความเป็นธรรมสภาทนายความ เนื่องจากโดนปลอมแปลงเอกสารจนถูกจับดำเนินคดีอาญา ข้อหาหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีสรรพากรว่า จากการสอบข้อเท็จจริงพบว่า นายจิรภาส งามจักรกฤษ ผู้เสียหาย เคยทำงานเกี่ยวกับรถยนต์นำเข้าเป็นโชว์รูมขายรถยนต์กับบริษัทแห่งหนึ่ง เริ่มทำงานตั้งแต่ ปี 2552 ในขณะที่ผู้เสียหายเข้าทำงานในตำแหน่งเซลล์ขายรถ ประจำบริษัทดังกล่าวได้มอบสำเนาสำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน, วุฒิการศึกษา โดยเซ็นสำเนาถูกต้องไว้ด้านล่างของเอกสารทุกแผ่น ไม่ได้มีการเขียนคาดข้อความไว้กับรูป และในช่วงรับเงินเดือนจากบริษัทต้องมีการถ่ายสำเนาบัตรประชาชนให้ทุกครั้ง ทำงานมาแล้วโดยประมาณ 3 ปี ต่อมาบริษัทได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัท โดยการตั้งบริษัทเพิ่มอีก 2 แห่ง ผู้เสียหายไม่ทราบว่าได้รับเงินเดือนจากบริษัทไหน จนถึงช่วงทำประกันสังคมได้รับเงินโอน จากบริษัทเดิมที่มีการเปลี่ยนชื่อ
ผู้เสียหายทำงานมาประมาณ 3 ปี ในตำแหน่งเซลล์ขายรถ จากนั้นบริษัทจ้างให้ออกเนื่องจากไม่เต็มที่กับงานที่ทำ และมิได้มีการเขียนใบลาออกแต่อย่างใด โดยไม่มีการทำบันทึกกับบริษัทใดๆ เงินค่าชดเชยต่างๆ ยังคงไม่ได้รับจากทางบริษัท ประมาณปี 2555-2556 จากนั้นมิได้มีการติดต่อกับบริษัทแต่อย่างใด
ต่อมาหลังจากที่ออกจากบริษัทเดือนกันยายน ปี 2564 ผู้เสียหายให้การว่าไม่ได้รับหมายศาล เนื่องจากที่อยู่ตามบัตรประชาชนอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันตนเองพักอาศัยอยู่จังหวัดนนทบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่กองปราบได้เข้ามาจับกุม นำตัวไปที่กองปราบเศรษฐกิจ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาหลีกเลี่ยงหนีการเสียภาษีสรรพากร (ชำระ แต่ชำระไม่ตรงตามเงื่อนไข เนื่องจากตนเองไม่ทราบว่ามีรายได้จำนวนมาก ทำให้เสียภาษีเท่าที่ฐานเงินเดือนได้รับ) ผู้เสียหายได้ประกันตัวเอง ให้การทุกอย่างและร้องขอความเป็นธรรม โดยเจ้าหน้าที่ได้แจ้งผู้เสียหายว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในบริษัทแห่งหนึ่ง ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว (โดยการแต่งตั้งเป็นกรรมการเมื่อปี 2554) จดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อปี 2552 บริษัทได้จดทะเบียนก่อน นาย ก เข้าทำงานในบริษัทที่ผู้เสียหายทำงานแห่งแรก ปี 2553-2555 (กรรมการคนก่อน คือ นาย ข )
หลังจากประกันตัวแล้วเสร็จ ผู้เสียหายได้ปรึกษาสภาทนายความฯ และได้ทำการขอหนังสือจดทะเบียนบริษัทและหนังสือรับรองต่างๆ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมกับอัยการ และอัยการส่งฟ้อง สืบพยานสืบเสร็จแล้ว ผู้เสียหายได้ตั้งข้อสังเกตจากบริษัทที่ตนเคยทำว่า 1. เขียนใบสมัคร 2. รับเงินเดือนเป็นเงินสดโดยใช้สำเนาบัตรประชาชน และจากคนที่บริษัทคือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นคนเดียวกับฝ่ายการเงินและบุคคล มีการออกหนังสือรับรองเงินเดือนให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย
ผู้เสียหาย ประสงค์ขอให้สภาทนายความ ช่วยเหลือเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร โดยผู้เสียหายให้การว่าบุคคลที่ทำคือฝ่ายบัญชีและกรรมการบริษัท จำนวน 2 คน ผู้เสียหายให้การกับตำรวจว่าไม่ได้รู้จักกรรมการบริษัทท่านนั้นแต่อย่างใด ผลสำนวนคืออัยการไม่สั่งฟ้อง
กรณีรถชนที่เป็นข่าวดังเกี่ยวข้องกับผู้เสียหายคือ เป็นกรรมการบริษัทที่เคยถูกแจ้งข้อกล่าวหาก่อนที่ผู้เสียหายจะเข้ามารับช่วงต่อเป็นกรรมการบริษัท อัยการแจ้งว่าไม่ได้สั่งฟ้องกรรมการคนดังกล่าว ผู้เสียหายให้การว่า กรรมการคนเก่าเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทและมีหุ้นในบริษัท จึงมาขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสภาทนายความ